ประวัติความเป็นมา
ไม้ดอกไม้ประดับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไม้ดอกไม้ประดับ ความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ดอก หมายถึง พันธุ์ไม้ทุกชนิดที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากความสวยงามของดอก มีดอกสวยงาม ดอกดก บานทน นิยมปลูกไว้ทั้งที่บานสวยงานอยู่กับต้นหรือตัดออกไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ 2 กลุ่ม คือ ไม้ดอกประดับ ไม้ตัดดอก ไม้ดอกประดับ คือ พันธุ์ไม้ดอกทุกชนิดที่ปลูกไว้เพื่อประดับบ้านเรือนอาคารสถานที่โดยได้ดอกบานติดอยู่กับต้น เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้สถานที่นั่นน่าอยู่อาศัยหรือน่าทำงาน ได้แก่ เข็มญี่ปุ่น พิทูเรีย แพงพวย พุทธรักษา บานชื่น ปทุมมา บัวสาย ฯลฯ ซึ่งหลายชนิดสามารถนำไปปลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ไม้ดอกไม้ประดับหมายถึงพันธุ์ไม้ที่ปลูกขึ้นเพื่อทำให้เกิดความสวยงามทั้งภายในบริเวณบ้าน เช่น ในบริเวณสนามรอบ ๆ ตัวบ้าน แขวนไว้ตามชายบ้าน และตั้งประดับไว้ตามส่วนต่าง ๆ ภายนอกตัวบ้านหรืออาคาร การจำแนกประเภทและแบ่งพันธุ์ไม้นั้น มีหลักพิจารณาและจำแนกต่าง ๆ กัน แล้วแต่ความมุ่งหมายและความประสงค์ ซึ่งอาจแบ่งจำพวกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ1. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามความมุ่งหมายที่ใช้ หมายถึง การแบ่งพันธุ์ไม้ตามความต้องกรและมุ่งหมายที่จะนำมาใช้เพื่อประโยชน์และ ใช้ส่วนไหนเพื่อประโยชน์ที่ต้องการ2. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามลักษณะนิสัยของพันธุ์ไม้เช่นการแบ่งตามถิ่นกำเนิดแบ่งตามอายุความเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ตามลักษณะเนื้อไม้ ตามสิ่งแวดล้อม และตามลักษณะของลำต้น3. การแบ่งพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับตามหลักพฤกษศาสตร์ มีความมุ่งหมายเพื่อจำแนกพันธุ์ไม้ทั่ว ๆ ไปให้แน่ชัดในรูปร่าง ลักษณะนิสัยการดำรงชีพ และการสืบพันธุ์ ของพันธุ์ไม้ให้อยู่เป็นกลุ่มที่แน่นอน ไม่ปะปนสับสนกัน ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ1. การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 1.1 ใช้เพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม เช่น ร้อยพวงมาลัย ตกแต่งอาคารสถานที่ 1.2 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสดชื่น สบายใจ หรือฟื้นฟู สภาพจิตใจ เช่น การจัดกระเช้าดอกไม้หรือจัดแจกันให้ผู้ป่วยเกิดความสดชื่น 1.3 ช่วยลดการเกิดวัชพืช ไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดสามารถปลูกคลุมดินได้เป็นอย่างดี ช่วยรักษาระดับอุณภูมิและความชื้นภายในดิน 1.4 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นยารักษาโรค 1.5 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับในการประกอบอาหาร เช่น การใช้สีจากใบเตย ฯลฯ 1.6 ใช้ประดับในงานพิธีต่าง ๆ เช่น วันเกิด งานแต่งงาน ฯลฯ 1.7 ใช้แสดงความยินดีและใช้โอกาสต่าง ๆ เช่น รับปริญญา ฯลฯ2. การใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือการประกอบธุรกิจ 2.1 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นรายได้เสริม เช่น การปลูกเป็นพืชแซม หรือ ในสวนบริเวณบ้าน 2.2 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพ่อการค้า หรือจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ความสำคัญของไม้ดอกไม้ประดับ มนุษย์จะใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อกิจการต่าง ๆ ดอกไม้ที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในตลาดโลก 3 ลำดับแรกคือ คาร์เนชั่น กุหลาบ และ เบญจมาศ ดอกไม้ที่ประเทศไทยส่งออก ส่วนใหญ่คือ กล้วยไม้ และ กุหลาบ มีประเทศลูกค้าที่สำคัญ คือ สิงคโปร์ อังกฤษ ฮ่องกง เยอรมนี ญี่ปุ่น และ เนเธอร์แลนด์คุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ คุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ดอกและไม้ประดับเป็นอวัยวะของพืชที่ค่อนข้างซับซ้อนซึ่งเมื่อมีการสูญเสียคุณภาพของก้าน ใบ หรือดอก จะไม่สามารถจำหน่ายได้ เพราะตลาดไม่ยอมรับการสูญเสียคุณภาพมีสาเหตุมาจากหลายประการ เช่น การเหี่ยว การร่วงของใบหรือกลีบดอก การโค้งงอ เป็นต้น ในการคัดคุณภาพหรือจัดมาตรฐานไม้ดอกไม้ประดับนั้น ต้องเข้าใจสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับเสียไปได้แก่1. การเจริญเติบโตและการแก่ ทำให้คุณภาพเสื่อมลง และอาจทำให้เกิดการโค้งของก้านดอกได้2. การเสื่อมสภาพเป็นช่วงเวลาที่ดอกไม้กำลังจะหมดอายุซึ่งคุณภาพจะต่ำลง3. การเหี่ยว อายุการปักแจกันของดอกไม้และใบไม้ขึ้นอยู่กับการได้รับน้ำอย่างต่อเนื่องและพอเพียง4. การเหลืองของใบและอวัยวะอื่น ๆ ทำให้ดอกหมดอายุการใช้งาน5. การร่วงของกลีบดอกและใบหรืออวัยวะอื่น ๆ จากสาเหตุต่าง ๆปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ดอกไม้ประดับ1. ดิน เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกเพราะดินจะช่วยพยุงลำต้น เป็นแหล่งให้น้ำให้อากาศตลอดจนแร่ธาตุต่าง ๆ ดินที่อุดมสมบูรณ์พืชก็จะเจริญเติบโตได้ดี2. ความชุมชื่นหรือน้ำ หมายถึง ความชุ่มชื้นที่อยู่ในดิน และความชุ่มชื้นที่อยู่ในอากาศดินที่อุดมสมบูรณ์มีธาตุอากาศหากขาดน้ำในดินรากก็ไม่สามารถดูดไปใช้ได้ ความชุ่มชื้นในอากาศมีความจำเป็นต่อต้นไม้เพราะจะช่วยให้ต้นไม้สดชื่นอยู่เสมอ3. แสงสว่าง มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นพืชนับตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก การสร้างฮอร์โมนในพืช การสร้างเม็ดสี ตลอดจนการออกดอกผลและอื่น ๆ พืชบางชนิดจะออกดอกเมื่อได้รับแสงสว่างเพียงพอ4. อุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของดอกและปริมาณดอก5. ปุ๋ย การเจริญเติบโตของพืชต้องการอาหารธาตุ ในการเจริญเติบโตจะได้รับอาหารธาตุเหล่านั้นจากดิน น้ำและอากาศ ในปัจจุบันธาตุในดินไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อปรุงดินให้มีธาตุตามที่พืชต้องการ6. โรคและแมลง โรคที่เกิดกับพืชมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย ส่วนแมลงนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น เพลี้ยหนอนต่าง ๆ การฉีดยาป้องกันโรคและแมลงก่อนจะช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี7. การตัดแต่ง จะมีผลการเจริญเติบโต แตกกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ ซึ่งจะช่วยในการกำหนดรูปร่างรูปทรงของพืชนั้น รวมทั้งการตัดกิ่งที่ไม่ต้องการ8. ตำแหน่งที่ปลูก มีผลต่อการเจริญเติบโตอีกประการหนึ่ง การเรียนรู้ ลักษณะนิสัยของพืชนั้น ๆ จะทำใหสามารถเลือกสถานที่ที่จะปลูกพืชนั้น ๆ ให้เหมาะสมเพื่อให้มีการเจริญเติบโตได้ดี